19-08-54โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สำหรับเด็กออทิสติก : ระยะทิ่ ๑ Print
Written by   
DATE_FORMAT_LC2

โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สำหรับเด็กออทิสติก : ระยะทิ่ ๑

โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สำหรับเด็กออทิสติก : ระยะทิ่ ๑

 

สนับสนุน โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

ผู้เขียนโครงการ
1.นางพจมาลย์  พูลสวัสดิ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
2.นายกัมปนาท  มหันต์  ประธานชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติก  จังหวัดพังงา
ผู้เสนอโครงการ
นางสาวอมรรัตน์  บางพิเชษฐ์ หัวหน้ากลุ่มงานจิตเวช

โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สำหรับเด็กออทิสติก : ระยะทิ่ ๑

โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สำหรับเด็กออทิสติก : ระยะทิ่ ๑

สนับสนุน โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

ผู้เขียนโครงการ
1.นางพจมาลย์  พูลสวัสดิ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
2.นายกัมปนาท  มหันต์  ประธานชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติก  จังหวัดพังงา
ผู้เสนอโครงการ
นางสาวอมรรัตน์  บางพิเชษฐ์ หัวหน้ากลุ่มงานจิตเวช

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สำหรับเด็กออทิสติก : ระยะที่๑

ผู้รับผิดชอบโครงการ
กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลตะกั่วป่า

หลักการและเหตุผล
โรคออทิสติกเป็นความบกพร่องของพัฒนาการด้านการสื่อสาร การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและมีปัญหาพฤติกรรม  หากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกต้องเหมาะสมและทันเวลา  เมื่อเด็กโตขึ้นจะมีปัญหาด้านการสื่อสารกับผู้อื่น คือ เด็กออทิสติกจะพูดช้า พูดเรื่อยเปื่อย พูดซ้ำๆ หรือพูดภาษาของตนเอง และมักพูดแต่เรื่องที่ตนเองสนใจ ทำให้ไม่สามารถสนทนากับผู้อื่นได้ ด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เด็กออทิสติกจะเล่นกับเพื่อนไม่เป็น ไม่สนใจที่จะมีเพื่อน ชอบแยกตัวไปเล่นคนเดียว ไม่สามารถเลียนแบบการกระทำของผู้อื่นได้ และยังไม่สามารถ ช่วยตนเองให้พ้นจากอันตรายต่างๆ ได้นอกจากนี้ เด็กออทิสติกยังมีปัญหาด้านอารมณ์อีกด้วย คือ เด็กจะมีอารมณ์แปรปรวนง่าย เมื่อถูกขัดใจจะแสดงอาการรุนแรงมากกว่าเด็กปกติ เช่น กรีดร้อง เอาหัวโขกพื้น ตีผู้อื่น หรือลงไปนอนดิ้นเป็นระยะเวลานาน ๆ ทำให้ไม่สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข นอกจากนี้ยังพบว่า ครอบครัวต้องประสบกับความตึงเครียดจากการเลี้ยงดูที่ยุ่งยาก และได้รับผลกระทบทางสังคมที่ขาดความเข้าใจและมีเจตคติที่ไม่ดีกับเด็กและครอบครัวต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็ก  จากการที่สังคมไม่ยอมรับทำให้ครอบครัวเกิดความสับสนลังเลใจในการนำเด็กเข้าสู่กระบวนการช่วยเหลือเด็ก
ในปัจจุบันแม้จะพบเด็กออทิสติกมาก แต่สำหรับในประเทศไทยเรื่องออทิสติกยังเป็นที่รู้จักในวงจำกัด  เฉพาะวงการทางจิตเวชและการศึกษาพิเศษ จึงทำให้เด็กและครอบครัวขาดโอกาสที่จะเข้าถึงและได้รับบริการทางด้านการแพทย์ การศึกษา และสังคม  โดยเฉพาะการได้รับคำปรึกษาแนะนำที่ถูกต้องและรวดเร็วจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่อง วิธีการเลี้ยงดู การปรับพฤติกรรมของลูก การพัฒนาทักษะต่าง ๆ การได้รับศึกษาและพัฒนาอาชีพอย่างเป็นระบบ เพื่อปรับแก้ไขข้อบกพร่องและพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่   ให้สามารถปรับตัว   เรียนรู้    และประกอบอาชีพได้  โดยพึ่งพาผู้อื่นน้อยที่สุด รวมทั้งสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างปกติสุข  ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการการคัดกรอง  วินิจฉัย  ให้การช่วยเหลือตั้งแต่อายุน้อยๆ และพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง  ประกอบด้วย จิตแพทย์    นักจิตวิทยา   พยาบาลจิตเวช  นักกิจกรรมบำบัด    นักแก้ไขการพูด    นักการศึกษาพิเศษ  นักสังคมสงเคราะห์  และครูที่โรงเรียน  ควบคู่กับการพัฒนาครอบครัวหรือผู้ดูแล.ให้มีเจตคติที่ดี   มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการดูแลเด็ก และพัฒนาเทคนิคให้เหมาะกับความสามารถ และสภาพปัญหาของแต่ละบุคคลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
โรงพยาบาลตะกั่วป่า    จึงได้จัดทำโครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สำหรับเด็กออทิสติก : ระยะที่๑ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความสามารถในการค้นหา  ช่วยเหลือ พัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็กออทิสติกในจังหวัดพังงา   ให้เป็นที่ยอมรับและสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

วัตถุประสงค์
๑. เพื่อสร้างเครือข่ายการดูแลเด็กออทิสติกในจังหวัดพังงา
๒. เพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายให้มีทัศนคติ ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการดูแลช่วยเหลือเด็กออทิสติกอย่างมีประสิทธิภาพ
๓. เพื่อให้มีการค้นหาและคัดกรองเด็กออทิสติกเข้าสู่กระบวนการดูแลช่วยเหลือ
๔. เพื่อให้เด็กออทิสติกสามารถเข้าถึงบริการได้รับบริการทางด้านการแพทย์ การศึกษา และสังคมอย่างครอบคลุม ทันเวลา  และต่อเนื่อง

กลุ่มเป้าหมาย
๑.เด็กออทิสติกและครอบครัวหรือผู้ดูแลในจังหวัดพังงา
๒. บุคลากรสาธารณสุข
๓. ครู
๔. ผู้ดูแลเด็กในศูนย์เด็กเล็ก

กิจกรรม
๑. จัดตั้งคณะทำงานดูแลช่วยเหลือและพัฒนาเด็กออทิสติกจังหวัดพังงา
๒. ประชุมชี้แจงคณะทำงานดูแลช่วยเหลือและพัฒนาเด็กออทิสติกจังหวัดพังงา   และร่วมวางแผนการดำเนินงาน  จำนวน ๒ ครั้ง
๓. พัฒนาศักยภาพบุคลากรผู้รับผิดชอบเข้าฝึกปฏิบัติงานหลักสูตรการใช้สื่อภาพพัฒนาเด็ก ออทิสติกของสถาบันราชานุกูล  (หลักสูตร ๑๐ วัน)
๔. จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้อง คือ
๔.๑ แนวทางการดูแลช่วยเหลือและพัฒนาเด็กออทิสติก สำหรับบุคลากรสาธารณสุข
จำนวน ๒ รุ่น ๆ ละ ๑ วัน
๔.๒ แนวทางการดูแลช่วยเหลือและพัฒนาเด็กออทิสติก สำหรับครูและผู้ดูแลเด็กในศูนย์                        
เด็กเล็ก  จำนวน ๑  รุ่น ๆ ละ ๒ วัน
๔.๓ แนวทางการดูแลช่วยเหลือและพัฒนาเด็กออทิสติก สำหรับครอบครัวหรือผู้ดูแลหรือครูผู้สนใจ   จำนวน ๑ รุ่น (๑ วัน)
๔.๔ การอบรมการใช้สื่อภาพเพื่อพัฒนาการสื่อสาร สำหรับครอบครัว ครูและผู้ดูแลเด็กในศูนย์เด็กเล็ก จำนวน ๑ รุ่น (๒ วัน)
๕. การคัดกรอง วินิจฉัย และขึ้นทะเบียนเด็กออทิสติกรายใหม่ จำนวน ๒ ครั้ง
๖. ประเมิน วางแผนการ และติดตามช่วยเหลือรายบุคคล
๗. ฝึกทักษะและปรับพฤติกรรมเด็กเฉพาะรายอย่างต่อเนื่อง
๘. ผลิตสื่อภาพเพื่อพัฒนาการสื่อสาร จำนวน ๑๐ ชุด
๙. ส่งต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
๑๐. ประเมินและสรุปผล

สถานที่  โรงพยาบาลตะกั่วป่า โรงพยาบาลพังงา และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา

ระยะเวลาดำเนินงาน
ตั้งแต่เดือนเมษายน ๒๕๕๔ เป็นต้นไป

งบประมาณ 
ได้รับสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติผ่านสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น ๑๕๐,๐๐๐ บาท(หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมโครงการ

 

 

LAST_UPDATED2