สมัชชาสุขภาพแห่งชาติปี 2553 - NHA2010 Print
Written by   
DATE_FORMAT_LC2

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติปี 2553 - NHA2010

คสช.เชิญครม.ร่วมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ 15-17 ธ.ค. นี้ (14/12/2010)

คณะ กรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เชิญ ครม. ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 8 ประเด็นนโยบายสาธารณะ
เพื่อสุขภาพร่วมกับผู้แทน 182 กลุ่มเครือข่ายในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
ครั้งที่ 3 ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ 15-17 ธ.ค.นี้

บรรยากาศก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี วันนี้ เวลา 09.00 น. ณ บริเวณหน้าตึกสำนักเลขาธิกา

รคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
ได้นำบัตรเชิญการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 ให้แก่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
ในฐานะประธานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) และคณะรัฐมนตรี เพื่อเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ 8 ประเด็น
ที่จะพัฒนาเป็นนโยบายสาธารณะ ได้แก่
1) ร่วมฝ่าวิกฤติความไม่เป็นธรรม นำสังคมสู่สุขภาวะ
2) การควบคุมกลยุทธ์การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก
3) ความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนพิการ
4) การแก้ปัญหาวัยรุ่นไทยกับการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม
5) มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน
6) มาตรการในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพด้านยาสูบ
7) นโยบายสนับสนุนพื้นที่จัดการตนเองเพื่อสังคมสุขภาวะ
8) นโยบายการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ
ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 15-17 ธันวาคม 2553 ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนิน กรุงเทพฯ
โดยเนื้อหาสาระของการประชุมจะมีการพิจารณาทั้งสิ้น จำนวน 52 ประเด็น จาก 36 องค์กร ซึ่งคณะกรรมการ
จัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) พิจารณาคัดเลือกประเด็นที่มีความสอดคล้องกับสถานการณ์และนโยบายที่สำคัญต่อ
ระบบสุขภาพ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ สังคม มีความซับซ้อนที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันแก้ปัญหา
มีผู้ได้รับผลกระทบจำนวนมาก อีกทั้ง ประเด็นที่ได้รับความสนใจจากสาธารณะ มีความเป็นไปได้ในการ
ผลักดันเชิงนโยบายและสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา ได้จริง ซึ่ง คจ.สช. คัดเลือก 8 ประเด็นที่เข้า
สู่การพิจารณาในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ โดยมีการพัฒนาข้อเสนอและเปิดรับฟังความเห็นจากกลุ่มเครือข่ายต่างๆ
ทั่วประเทศ ตลอดปี 2553 ก่อนจะนำเข้าสู่การพิจารณาโดยผู้แทน 182 กลุ่ม เครือข่ายกว่า 1,500 คน


สำหรับประชาชนทั่วไปที่สนใจ สามารถติดตามข้อมูลและให้ความเห็นทั้ง 8 ประเด็น ที่พิจารณาในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
โดยผ่านทางเว็บไซต์สมัชชาสุขภาพ www.samatcha .org
นอกจากนี้ สามารถติดตามรับชมการถ่ายทอดสดการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติทาง www.healthstation.tn.th
ตลอด 3 วันนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวระหว่างการปาฐกถา ในหัวข้อเรื่อง ฝ่าวิกฤตความไม่เป็นธรรมสู่สุขภาวะ
ในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ โดยกล่าวแสดงความยินดีที่เห็นสมัชชามีความเติบโต ซึ่งที่ผ่านมา สมัชชามีข้อเสนอเป็น
จำนวนมาก เกี่ยวกับเรื่องของสุขภาพ ที่ทำให้เห็นว่า ไม่ใช่แค่กระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
ที่จะปรับเปลี่ยนทัศนคติของสุขภาพ แต่ควรปรับแนวคิดโดยมีภาคส่วนต่างๆ เข้ามาร่วมสะท้อนปัญหา ดังเช่นที่สมัชชาได้ดำเนินการ
ซึ่งข้อเสนอที่เกิดขึ้นจะทำให้รัฐบาล ต้องนำไป ดำเนินการปรับใช้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย ในการขับเคลื่อนประเทศไทย อย่างไรก็ตาม
ข้อสรุปของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มีความสำคัญที่รัฐบาลจะนำไปผลักดัน เป็นนโยบาย และนำขยายสู่ชุมชน
ให้ได้มีการสะท้อนปัญหามาสู่รัฐบาล และถือว่าเป็นการสร้างคุณค่าทางวัฒนธรรมใหม่ในการทำงานที่จะลดปัญหาความไม่
เป็นธรรมในสังคมไทยด้วย

เวทีสมัชชาสุขภาพฯ ตลอด 3 วัน ลงมติรับรอง 9 ระเบียบวาระ ทั้ง ‘มาตรการท้องไม่พร้อม’ เสนอมาตรการให้ทุกหน่วยงานร่วมแก้ไข
ประกาศให้สังคมไทยไร้ ‘แร่ใยหิน’ ในปี 2555 ส่วน ‘เมดิคัลฮับ’ ให้บีโอไอทำตามธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ 2552
ก่อนเสนอคณะกรรมการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ปลายเดือนนี้ ส่งต่อให้ครม.

วันที่ 17 ธันวาคม 2553 งานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถ.ราชดำเนิน กรุงเทพฯ
รศ.ดร.ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา ประธานกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 3
รศ.ดร.ดรุณี รุจกรกานต์ รองประธานคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 3
ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการดำเนินการประชุมคณะที่ 1
ผศ.ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ รองประธานคณะอนุกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 3
ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการดำเนินการประชุมคณะที่ 2
และนายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ร่วมแถงข่าว

รศ.ดร.ชื่นฤทัย กล่าวถึงภาพรวมการประชุมสมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 3 ว่า ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย โดยสรุปมติการประชุมตลอด 3 วันที่
ผ่านมามีประเด็นที่ได้รับการคัดเลือกเข้าสู่เวทีสมัชชาสุขภาพฯ ครั้งนี้จำนวน 9 ประเด็น และประเด็นเร่งด่วนที่เสนอเข้าสู่เวทีสมัชชาฯ อีก 1 ประเด็น
รวมเป็น 10 ประเด็น คือ
1. ร่วมฝ่าวิกฤติความไม่เป็นธรรมนำสังคมสู่สุขภาวะ
2.การควบคุมกลยุทธ์การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก
3.ความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนพิการ
4.การแก้ไขปัญหาวัยรุ่นไทยกับการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม
5.มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน
6.มาตรการในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพด้านยาสูบ
7.นโยบายสนับสนุนพื้นที่จัดการตนเองเพื่อสังคมสุขภาวะ
8.นโยบายการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ
9.รายงานความก้าวหน้าในการติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาที่ผ่านมา และ
10.การป้องกันผลกระทบต่อสุขภาวะจากการค้าเสรีระหว่างประเทศ (FTA) ซึ่งเป็นวาระเร่งด่วนที่ถูกนำเข้าสู่การพิจารณาครั้งนี้

รศ.ดร.ดรุณี กล่าวถึงประเด็นที่เสนอเข้ามาพิจารณาใน ห้องประชุมคณะที่ 1 โดยเฉพาะนโยบายการเป็นศูนย์กลาง
สุขภาพนานาชาติที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่ คณะทำงานเสนอ โดยเสนอให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน
และประชาชนให้ข้อมูลผลกระทบทั้งด้านบวก-ลบ และความเป็นไปได้ในการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ
และให้บีโอไอดำเนินการตามรัฐธรรมนูญว่าด้วยสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ข้อ 51

ส่วนการแก้ปัญหาวัยรุ่นไทยกับการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม ประคณะอนุกรรมการดำเนินการประชุมคณะที่ 1 กล่าวว่า
ส่วนใหญ่มีมติเห็นชอบไปในทิศทางตามที่คณะทำงานเสนอคือ ให้ภาครัฐและเอกชนร่วมกันจัดตั้งกลไกในการ
ดำเนินการแปลงนโยบายการพัฒนา อนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติและยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กตั้งครรภ์
ไม่พร้อมสู่แผนปฏิบัติที่ชัดเจนและอื่นๆ ภายในปี 2554 มุ่งให้เกิดกลไกขับเคลื่อนในระดับจังหวัด ให้กระทรวงศึกษาธิการ
ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และภาคเอกชนให้การศึกษาพัฒนาหลักสูตรเกี่ยวกับเพศศึกษา และมีทัศนคติที่ถูกต้องแก่เด็ก
และครูผู้สอนเพศศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ให้การสนับสนุนแผนเสริมสร้างสุขภาวะทางเพศในแผนชุมชน
สำหรับสมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติก็จะให้ความร่วมมือในการร่วมดำเนินงานกับ ทุกฝ่ายและร่วมกันผลักดันร่าง
พรบ.คุ้มครองอนามัยการเจริญพันธุ์ฯ ให้ประกาศใช้ภายในปี 2555

ขณะที่ ผศ.ดร.สุปรีดา กล่าวถึงมาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหินว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการการดำเนินการประชุมคณะที่ 2
มีมติเห็นชอบให้กระทรวงการคลังพิจารณายกเลิกการใช้แร่ใยหิน และให้ใช้สารทดแทนที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
และให้สำนักนายกรัฐมนตรีปรับเพิ่มเกณฑ์ในระเบียบเดิม เรื่องการก่อสร้างอาคารของส่วนราชการ โดยกำหนดไม่ให้ใช้วัสดุที่
มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบในการก่อสร้างอย่างเคร่ง ครัด เพื่อให้สังคมไทยไร้แร่ใยหินภายในปี 2555

นายแพทย์อำพล กล่าวด้วยว่า มติในทุกๆ ประเด็นที่ผ่านสมัชชาสุขภาพแหงชาติครั้งที่ 3 นี้ คณะกรรมการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
จะสรุปเนื้อหาทั้งหมดรายงานต่อคณะกรรมการ สุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ในวันที่ 24 ธันวาคม 2553 นี้ เพื่อพิจารณาและนำส่งคณะรัฐมนตรีได้พิจารณารับรองต่อไป

 

เวทีสมัชชาสุขภาพฯ  วันแรก ถกปัญหา-หาทางออก ชูประเด็นร่วมฝ่าวิกฤติความไม่เป็นธรรม นำสังคมสู่สุขภาวะ “อรุณฉัตร”

แนะสังคมปรับมุมมองเยาวชน หนุนเสริมให้สามารถลงความเห็นในนโยบายเกี่ยวข้องกับเยาวชนได้ ขณะที่ตัวแทนชนเผ่าดาราอั้ง  

ขอพื้นที่ยืนให้คนชายขอบ ระบุ จะมีหรือไม่มีสัญชาติไทย ควรเห็นเป็นมนุษย์เหมือนกัน
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3  เป็นเวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 15-17 ธันวาคม
ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ โดยมีรองศาสตราจารย์ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา ประธานกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
พ.ศ. 2553 ประธานเปิดการประชุม  และแนะนำคณะกรรมการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

จากนั้นมีปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “ร่วมฝ่าวิกฤติความไม่เป็นธรรม นำสังคมสู่สุขภาวะ” โดยนายอรุณฉัตร คุรุวาณิชย์
ประธานสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร และกรรมการส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ, นางคำ นายนวล
ชนเผ่าดาราอั้ง ,นายชลน่าน ศรีแก้ว รองประธานกรรมาธิการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร และนางพรรณสิริ กุลนาถศิริ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

เริ่มต้นนายอรุณฉัตร กล่าวถึงเหตุที่เยาวชนขาดกระบวนการคิด วิเคราะห์ และแยกแยะในประเด็นต่างๆ ทั้งประเด็นการเมือง และสังคม
เนื่องจากผู้ใหญ่มีมุมมองที่ปกป้องคุ้มครองเยาวชน ซึ่งเป็นอนาคตของชาติให้ปราศจากสี หรือสิ่งเลวร้ายเจือปน

“เยาวชนไทยทุกวันนี้ไม่ได้แตกต่างจากเยาวชนสมัยก่อน ความเลวร้ายไม่ได้มากขึ้น แต่ด้วยกระแสสังคมและกระบวนการสื่อสารที่รวดเร็ว
ทำให้เรื่องราวต่างๆ ถูกพูดถึงในสังคมมากขึ้น รวดเร็วขึ้น เช่น ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ ท้องไม่พร้อม หรือการทะเลาะวิวาท ซึ่งส่วนตัวคิดว่า
เป็นเรื่องที่ดีที่ทำให้สังคมรับรู้ สามารถประเมินสถานการณ์แก้ปัญหาเด็กและเยาวชนได้อย่างถูกต้อง และตรงจุด”

การให้เยาวชนเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคมนั้น นายอรุณฉัตร กล่าวว่า เกิดได้ไม่อยาก แค่สังคมปรับมุมมองที่มีต่อเยาวชนจากผู้ที่ต้องได้รับการดูแล
มาเป็นหุ้นส่วนของสังคม เพื่อให้เยาวชนสามารถแสดงออกถึงความคิด การกระทำ การตัดสินใจ เสียงของเยาวชนสามารถลงความเห็นในเรื่องเกี่ยวข้องกับ
เยาวชนได้ โดยเฉพาะนโยบายของรัฐที่มีผลผูกพันเกิน 20 ปี จำเป็นต้องให้เยาวชนได้รับรู้ เข้าใจ และมีส่วนร่วม รวมถึงร่วมดำเนินการ
เพราะนโยบายเหล่านั้นจะเกิดขึ้นเมื่อในยุคที่เยาวชนโตเป็นผู้ใหญ่

“ผมเชื่อว่า หากเรามองเยาวชนเป็นหุ้นส่วนในการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคม โดยมีผู้ใหญ่ทำหน้าที่เป็นผู้หนุนเสริม ให้คำปรึกษาอย่างเมตตา เชื่อว่า
อนาคตอันใกล้เราจะเห็นพลังที่สร้างสรรค์ อันบริสุทธิ์เข้ามาเติมเต็มสังคมที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง เต็มไปด้วยผลประโยชน์และความเหลื่อมล้ำ”

ขณะที่นางคำ กล่าวถึงความไม่เท่าเทียมจากการถูกเรียก ขานว่า เป็นคนชายขอบ และประสบปัญหาไม่มีทั้งเรื่องการรักษาพยาบาล เบี้ยเลี้ยงผู้สูงอายุ
เบี้ยยังชีพผู้พิการ หรือแม้กระทั่งการได้รับการช่วยเหลือแจกจ่ายข้าว ของให้ผู้ยากจน จากอบต. ที่มาแจกให้ โดยจะเก็บข้อมูลเฉพาะคนที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น

“การแจกข้าวของช่วยเหลือผู้ยากจน ข้อนี้ก็ยังไม่ยุติธรรม ทั้งๆที่เขาเห็นเราทุกวัน เป็นคนที่นี่ อยู่ที่นี่จริงๆ อยากให้มองเห็นว่า จะมีหรือไม่มีสัญชาติไทย
ควรเห็นเราเป็นมนุษยชนเหมือนกัน”

กรณีถูกดำเนินคดีข้อหาบุกรุกทำลายป่า นางคำ กล่าวว่า ถูกจับบ่อยครั้ง ล่าสุด ถือเป็นครั้งที่ 3 เจ้าหน้าที่จับทั้งผู้หญิง ผู้ชาย คนพิการ คนชรา และคนท้อง
บุกจับตอนตี 5 ข้อหาบุกรุกทำลายป่า ซึ่งแม้จะมีหลายหน่วยงานเข้าช่วยเหลือ ศาล อัยการ เห็นใจชาวบ้านจัดที่อยู่อาศัย มีโครงการบ้านมั่นคงชนบท
บ้านปางแดงนอก ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ หลายคนอาจมองว่า  มีชุมชน มีหมู่บ้าน มีรอยยิ้ม แล้ว แต่การมีที่บ้านแต่ไม่มีที่ทำกิน
ก็เป็นสิ่งที่ลำบากเหมือนกั
น  โดยเฉพาะกับคำครหา ชาวบ้านรับจ้างนายทุนบุกรุกทำลายป่า

ส่วนนายชลน่าน กล่าวถึงการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติปี นี้ ที่ได้เล็งเห็นความสำคัญของความไม่เป็นธรรม แล้วบอกกล่าวกับผู้คนทั่วประเทศนี้ว่า  
เป็นวิกฤติของประเทศไทย ที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งความไม่เป็นธรรม เกิดทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี
โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจรายได้ การกระจายทรัพย์สิน เป็นความเหลื่อมล้ำเชิงประจักษ์

“ตัวเลขเชิงประจักษ์ทางเศรษฐกิจ เป็นส่วนแหลมนิดเดียวที่โผล่มาจากภูเขาน้ำแข็ง และวัดได้ แต่ที่วัดไม่ได้ คือ ที่จมอยู่ในทะเล ใต้ภูเขาน้ำแข็ง
ทั้งธุรกิจมืด ธุรกิจเถื่อน ความไม่เท่าเทียม”

นายชลน่าน กล่าวถึงการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น วันนี้ยังเป็นแค่รูปแบบ ซึ่งหากมีการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง เชื่อว่าท้องถิ่นมีศักยภาพดูแลผู้คน
ได้อย่างดีมากกว่ารัฐบาลกลาง ทั้งนี้ คงต้องตั้งคำถามว่า ทำไมท้องถิ่นเราไม่พัฒนา ไม่ได้รับโอกาสใดๆ เลย

สุดท้ายนางพรรณสิริ กล่าวว่า อิทธิพลทางเศรษฐกิจทำให้สังคมแปรเปลี่ยนไป เกิดความไม่สงบสุข และนำไปสู่สภาวะเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรม
ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม โดยเฉพาะวัฒนธรรมทุนนิยมที่เข้ามา แม้จะทำให้สังคมไทยสะดวกสบาย แต่ก็ได้ดูดซับทรัพยากรธรรมชาติ
สร้างความเหลื่อมล้ำระหว่างคนที่มีและไม่มีอย่างเห็นได้ชัด

“วิถีชีวิตคนท้องถิ่นมีความหลากหลาย มีคุณค่า มีพลังอยู่เต็มแผ่นดิน ซึ่งจากการได้สัมผัส และศึกษาเรียนรู้รูปแบบการพัฒนาท้องถิ่น
จึงได้เข้าใจและตระหนักว่า ประเทศไทยมีบุญใต้ร่มพระบารมี ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญานำทาง มีเป้าหมายที่จะพัฒนาคนเป็นสำคัญ
บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง ดังนั้น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เต็มพื้นที่ ในชุมชนท้องถิ่น จะเป็นรากเหง้าที่เป็นแก่นแท้ เป็นพลังของชุมชนท้องถิ่น
และจะเป็นพลังสำคัญของประเทศ”

เลขาธิการ สช. ยันค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล ขรก.ไม่ลด เพราะ “ระบบเบิกไม่อั้น” ฉะ ก.คลังแก้ปัญหาแบบโดดๆ
ไม่ได้แก้ปัญหาทั้งระบบ แนะให้ดูสปสช.เป็นตัวอย่าง ส่วน “หมอวิชัย” ยันระบบประกันภัยมุ่งเอากำไรเป็นหลักมากกว่าที่จะดูแลปชช.


ภาพบรรยากาสในงานสมัชชา

 

 

 

 

 

 

 

 








LAST_UPDATED2